วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่14 การทำภาพพิเศษ


........การทำภาพพิเศษ (Special Effect) จะช่วยให้ภาพที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์แปลกตาและดูน่าสนใจมากขึ้น นิยมใช้กับการทำไตเติ้ล ใช้กับงานกราฟิกและใช้ทำเทคนิคพิเศษ และเพื่อให้เกิดผลพิเศษต่างๆ ทางภาพจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์สร้างภาพได้ 3 วิธีคือ
........1.ใช้ระบบกลไกทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่เครื่องกำเนิดสัญญาณทั้งระบบอนาล็อกและระบบดิจิตอลร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น เครื่อง SEG & Switcher ซึ่งจะช่วยสร้างเทคนิดพิเศษได้อย่างหลากหลาย
........2.ใช้ระบบของแสงร่วมกับอุปกรณ์การถ่ายภาพ ทำให้ภาพเกิดการบิดเบี้ยวผิดไปจากความเป็นจริงด้วยการใช้คุณลักษณะพิเศษของเลนส์ชนิดต่างๆ มาสวมหน้ากล้อง เช่น เลนส์ตาปลา
........3.ใช้ระบบกลไกที่จัดทำขึ้นเอง ได้แก่ การทำให้ดูว่ามีฝนตก หิมะตก ไฟไหม้ ลมพัดการทำภาพพิเศษด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

........การซ้อนภาพ ทำได้ด้วยการใช้ภาพจากช็อต 2 ช็อตหรือจากกล้องสองตัวมาซ้อนกัน กรณีที่ไม่สามารถคีย์ไตเติ้ลลงไปบนภาพของแบคกราวน์หรือฉากหลังได้สามารถใช้การซ้อนภาพแทนได้
........การคีย์ภาพ คือการตัดภาพโทรทัศน์ทางอิเล็กทรอนิกส์จากแหล่งภาพหนึ่งไปใส่รวมให้ปรากฏหน้าจอเป็นภาพเดียวกับภาพจากอีกแหล่งหนึ่ง
........โครมาคีย์ เป็นภาพพิเศษที่ใช้สี (Chroma) กับความสว่างของแสง (Luminance) ในการคีย์สีที่ใช้ส่วนมากคือสีน้ำเงินหรือสีฟ้าเป็นแบคกราวน์แทนสีดำ
........Wipe คือการกวาดภาพ มีลักษณะคือภาพใหม่จะเข้าไปแทนที่ภาพเดิมไม่เหมือนกับการซ้อนภาพ เพราะเมื่อภาพใหม่กวาดไปถึงจุดใดภาพเดิมก็จะถูกลบหายไป การกวาดภาพมีหลายรูปแบบที่ง่ายและนิยมใช้กันมากคือกวาดจากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา และแบบทแยงมุม
รูปแบบการกวาดจะหลากหลายมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้แผ่น Pattern ใส่เข้าไปในเครื่อง SEG ทำได้โดยใช้กล้องตัวแรกจับไปที่ภาพหนึ่งแล้วใช้กล้องตัวที่สองจับภาพอีกภาพหนึ่ง จากนั้นใช้เครื่อง SEG ทำการกวาดผสมภาพ

บทที่15 งานกราฟิก

สัดส่วนงานกราฟิก
........คือความสัมพันธ์ระหว่างความสูงกับความกว้างของหน้าจอโทรทัศน์ โดยทั่วไปจอโทรทัศน์จะมีสัดส่วนเป็น 3:4 ถ้าเป็นจอโทรทัศน์ระบบHDTV จะมีสัดส่วนความสูงกับความกว้างมากกว่าจอธรรมดา คือมีสัดส่วนเป็น 3:5:3 หรือประมาณ 9x16 หน่วย ใกล้เคียงกับสัดส่วนของภาพยนตร์
........หลักการออกแบบ การทำงานกราฟิกต้องอาศัยหลักของการออกแบบ เนื่องจากแคปชั่นหรือไตเติ้ลที่ดีต้องผ่านขั้นตอนการออกแบบและถูกจัดทำอย่างดี จึงจะดึงดูดสายตาของผู้ชมได้ ผู้ทำงานกราฟิกจึงควรรู้จักใช้องค์ประกอบทางศิลปะมาใช้ในการออกแบบ ได้แก่ ความสมดุลย์ แสงสี ช่องว่างและอื่นๆ หลักการออกแบบขั้นพื้นฐานที่ควรนำมาใช้ในการออกแบบงานกราฟิกของโทรทัศน์ประกอบด้วย
........Simplicity คือการออกแบบให้ดูง่ายไม่สลับซับซ้อน ให้ความคิดเพียงความคิดเดียว
........Unity คือการจัดภาพหรือข้อความให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวรวมเป็นหน่วยเดียวกันและมีความเป็นเอกภาพ
........Emphasis คือการจัดภาพให้เกิดจุดเด่น หรือเน้นบางจุดให้มีความแตกต่างไปจากส่วนอื่น การทำให้เกิดจุดเด่นในภาพควรทำเพียงจุดเดียว ให้เกิดความคิดเดียวดูง่ายและสามารถเร้าความสนใจของผู้ชม
........Balance คือการจัดภาพให้เกิดความสมดุลย์ การสมดุลย์มี 2 แบบคือ
1. Formal Balance คือความสมดุลย์แบบซ้ายขวามีส่วนประกอบเท่ากันและเหมือนกัน
2.Informal Balance มีลักษณะและส่วนประกอบของภาพซ้ายขวาไม่เหมือนกันแต่เมื่อดูเป็นภาพรวมแล้วให้ความรู้สึกเท่ากัน

ชนิดของแคปชั่น
........-ชื่อหน่วยงาน หรือโลโก้ของหน่วยงานที่ผลิตรายการ
........-ชื่อรายการ ชื่อเรื่องหรือชื่อตอน
........-แคปชั่นที่เป็นข้อความ ภาพวาด ภาพประกอบ กราฟ ชาร์ท
........-เครดิตไตเติ้ล ได้แก่หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลืออุปถัมภ์
........-ชื่อผู้ผลิตรายการและผู้ร่วมงาน
........-แคปชั่นจบรายการ เช่น อวสาน สวัสดี หรือจบบริบูรณ์การทำแคปชั่น
........การทำแคปชั่นหรือไตเติ้ลมีวิธีการและขั้นตอนแตกต่างกันออกไปและความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้องผ่านขั้นตอนของการออกแบบโดยใช้องค์ประกอบและหลักการของการออกแบบ

การทำแคปชั่นสามารถทำได้ 2 ลักษณะคือ.
.......การประดิษฐ์ด้วยมือ
1.ใช้สีเมจิก สีน้ำ สีโปสเตอร์ ปากกาสปีดบอล พู่กัน
2.ใช้ตัวอักษรลอก ตัวอักษรจากเครื่องประดิษฐ์ตัวอักษร เช่น เทมเพลท ตัวอักษรสำเร็จและมาสเตอร์เท็กซ์3.ตัวอักษรจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการออกแบบทางหน้าจอแล้วพิมพ์ออกมาใช้งาน
........การนำแคปชั่นเข้ารายการโทรทัศน์เมื่อจัดทำแคปชั่นเป็นไตเติ้ลรูปแบบต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็จะนำไปเข้าร่วมในรายการโทรทัศน์มีวิธีการดังนี้
1.ติดตั้งแผ่นไตเติ้ลเข้ากับฝาผนังหรือแท่นซึ่งมีขาตั้งโดยเฉพาะ
2.ใช้กล้องโทรทัศน์จับภาพไปที่แผ่นไตเติ้ล ปรับภาพให้คมชัดเต็มจอ
3.ถ้าต้องการจัดทำเป็นภาพพิเศษ เช่น ให้มีข้อความหรือตัวอักษรวิ่งซ้อนบนภาพให้ใช้กล้องอีกตัวหนึ่งจับไปที่ภาพของฉากหลังหรือแบรคกราวน์ หรือจะใช้ภาพสต็อคช็อตที่ถ่ายทำมาจากที่อื่นซึ่งบันทึกไว้ในเทปวีดิทัศน์ก็ได้
4.นำสัญญาณภาพที่ได้จากกล้องทั้งสองไปเข้าเครื่อง Switcher & SEG เพื่อทำการซ้อนตัวอักษรลงบนภาพด้วยเทคนิค DSK(Downstream Key) หรือใช้วิธี Mix ธรรมดาก็ได้
.................................................